เมนู

บทว่า คหปติจีวรํ ได้แก่ จีวรอันคหบดีทั้งหลายถวาย.
สองบทว่า ธมฺมิยา กถาย คือ ถ้อยคำอันประกอบพร้อมด้วย
อานิสงส์แห่งการถวายผ้า
บทว่า อิตริตเรนนาปิ คือ มีค่าน้อยก็ตาม มีค่ามากก็ตาม, ความว่า
อย่างใดอย่างหนึ่ง. ผ้าห่มที่ทำด้วยฝ้ายชนิดที่มีขน ชื่อผ้าปาวาร.
ในคำว่า อนุชานมิ ภิกฺขเว โกชวํ นี้ มีความว่า ผ้าโกเชาว์
คือ ผ้าลาด ตามปกติเท่านี้ จึงควร, ผ้าโกเชาว์ผืนใหญ่ ไม่ควร. ผ้าโกเชาว์
นั้น ทำด้วยขนสัตว์คล้ายผ้าปาวาร.

ว่าด้วยทรงอนุญาตจีวร 6 ชนิด


พระเจ้ากาสีนั้น คือพระราชาแห่งชนชาวกาสี, ท้าวเธอเป็นน้องร่วม
พระบิดาเดียวกับพระเจ้าปเสนทิ.
วินิจฉัยในบทว่า อฑฺฒกาสิยํ นี้ พึงทราบดังนี้:-
หนึ่งพันเรียกว่ากาสีหนึ่ง ผ้ากัมพลมีราคาพันหนึ่ง ชื่อมีค่ากาสีหนึ่ง,
แต่ผ้ากัมพลผืนนี้ มีราคา 50, เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า มีค่ากึ่งกาสี,
ด้วยเหตุนี้แล พระอุบาลีเถระจึงกล่าวว่า ควรแก่ราคากึ่งกาสี.
บทว่า อุจฺจาวจานิ คือ ดีและไม่ดี. ผ้าที่ทำเจือกันด้วยด้ายห้าชนิด
มีด้ายเปลือกไม้เป็นต้น ชื่อผ้าภังคะ บางอาจารย์กล่าวว่า ผ้าที่ทำด้วยปอเท่านั้น
ดังนี้บ้าง.
ข้อว่า เอกํเยว ภควตา จีวรํ อนุญฺญาตํ น เทฺว มีความว่า
ได้ยินว่า ภิกษุเหล่านั้น กำหนดเนื้อความแห่งบทอันหนึ่งว่า ด้วยจีวรตามมี
ตามได้ อย่างนี้ว่า ด้วยจีวรเป็นของคหบดีหรือด้วยผ้าบังสุกุล.

บทว่า นาคเมสุํ มีความว่า ภิกษุเหล่านั้น ไม่รออยู่ จนกว่าพวก
เธอจะมาจากป่าช้า, คือหลีกไปเสียก่อน.
สามบทว่า นากามา ภาคํ ทาตุํ มีความว่า ไม่ปรารถนาจะให้ก็
อย่าให้, แต่ถ้าปรารถนาจะให้ไซร้, ควรให้.
บทว่า อาคเมสุํ คือ รออยู่ในที่ใกล้. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มี-
พระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้ไม่อยากให้ ต้องให้
ส่วนแบ่งแก่ภิกษุทั้งหลายผู้คอย. ก็ถ้าว่า มนุษย์ทั้งหลายถวายว่า ท่านผู้มีอายุ
ทั้งหลาย ผู้มาที่นี่เท่านั้น จงถือเอา, หรือกระทำเครื่องหมายไว้ว่า ท่านผู้มี
อายุทั้งหลาย ผู้มาถึงแล้ว จงถือเอา ดังนี้แล้วไปเสีย, จีวรย่อมถึงแก่ภิกษุแม้
ทุกรูป ผู้มาถึงแล้ว. ถ้าเขาทิ้งไว้แล้วไปเสีย, ภิกษุผู้ถือเอาเท่านั้นเป็นเจ้าของ.
สองบทว่า สทิสา โอกฺกมึสุ มีความว่า เข้าไปทุกรูป, หรือเข้า
ไปโดยทิศเดียวกัน.
หลายบทว่า เต กติกํ กตฺวา มีความว่า ภิกษุเหล่านั้น ทำกติกา
กันไว้แต่ภายนอกว่า เราจักแบ่งผ้าบังสุกุลที่ได้แล้วถือเอาทั่วกิน

ว่าด้วยเจ้าหน้าที่รับจีวรเป็นต้น


วินิจฉัยในข้อว่า โย น ฉนฺทาคตึ คจฺฉติ เป็นอาทิ พึงทราบ
ดังนี้.
ในภิกษุผู้เป็นเจ้าหน้าที่รับจีวร ภิกษุผู้รับของปิยชนทั้งหลายมีญาติ
เป็นต้นของตน แม้มาทีหลัง ก่อนกว่า, หรือรับแสดงความพอใจในทายกบ้าง
คน. หรือน้อมมาเพื่อคน ด้วยความเป็นผู้มีโลภเป็นปกติ, ชื่อว่าถึงความลำเอียง
เพราะความชอบพอ. ภิกษุใดรับของทายกแม้มาก่อนกว่า ทีหลังด้วยอำนาจ
ความโกรธ, หรือรับทำอาการดูหมิ่นในคนจน. หรือทำลาภันตรายแก่สงฆ์